วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วีดิโอโลก ดาราศาสตร์

ดูดาวพลูโต

ระบบสุริยะโฉมใหม่

ระบบสุริยะ

     จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระวังสับสนกับ จักรวาล
ระบบสุริยะ
Planets2008-th.jpg
ภาพแสดงดาวเคราะห์และดาวเคราะห์แคระในระบบสุริยะ โดยย่อขนาดของดาวตามอัตราส่วนจริง แต่ระยะห่างระหว่างดาวไม่ใช่อัตราส่วนจริง
อายุ4.568 พันล้านปี
ที่ตั้งเมฆดวงดาวท้องถิ่นฟองท้องถิ่น,แขนของเทพนิยายทางช้างเผือก
มวลของระบบ1.0014 มวลสุริยะ
ดวงดาวที่ใกล้ที่สุดระบบพร็อกซิมาคนครึ่งม้า (4.22 ปีแสง), ระบบอัลฟาคนครึ่งม้า(4.37 ปีแสง)
ระบบดาวเคราะห์ที่ใกล้ที่สุดที่รู้จักกันระบบอัลฟาคนครึ่งม้า (4.37 ปีแสง)
ระบบดาวเคราะห์
กึ่งแกนหลักของเปลือกนอก ดาวเคราะห์ (เนปจูน)4.503 พันล้านกิโลเมตร (30.10AU)
ระยะห่างจากแถบไคเปอร์หน้าผา50 AU
จำนวน ดาว1 ดวง
ดวงอาทิตย์
จำนวน ดาวเคราะห์8 ดวง
ดาวพุธดาวศุกร์โลกดาวอังคาร,ดาวพฤหัสบดีดาวเสาร์ดาวยูเรนัสดาวเนปจูน
จำนวนดาวเคราะห์แคระที่รู้จักกัน5 (IAU)
ซีรีสดาวพลูโตเฮาเมอามาคีมาคีอีริส
และหลายร้อยดวงอื่น ๆ[1]
จำนวนบริวารที่รู้จักกัน406 ดวง (176 ของดาวเคราะห์[2]และ 230 ของดาวเคราะห์น้อย[3])
จำนวนดาวเคราะห์น้อยที่รู้จักกัน603,057 ดวง (จากข้อมูลเมื่อ 2013-01-10)[2]
จำนวนดาวหางที่รู้จักกัน3,184 ดวง (จากข้อมูลเมื่อ 2013-01-10)[2]
จำนวนดาวเทียมรอบที่ระบุ19 ดวง
วงโคจรเกี่ยวกับศูนย์กลางดาราจักร
Inclination ofinvariable plane to the galactic plane60.19° (ecliptic)
ระยะทางไปยังศูนย์กลางทางช้างเผือก27,000±1,000 ปีแสง
ความเร็วโคจร220 กิโลเมตรต่อวินาที
ระยะเวลาการโคจร225–250 ล้านปี
คุณสมบัติระดับที่เกี่ยวข้อง
ชนิดสเปกตรัมG2V
แถวน้ำแข็ง≈5 AU[4]
Distance toheliopause≈120 AU
รัศมีทรงกลมเนินเขา≈1–2 ปีแสง
ระบบสุริยะ (อังกฤษSolar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง[5] ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์
โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต
กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย
ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส
มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก
สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน